ในประเทศไทย ประสิทธิภาพยิ่งต่ำมากๆ เพราะเรายังใช้วิธีใส่คนงานไร้ฝีมือ ไร้การฝึกฝนเข้าไปจำนวน มากๆเมื่อต้องการผลงานมากขึ้น
ง่ายๆถ้าสังเกต จะเห็นได้ว่าการทำงานในหน่วยงาน ในแต่ละจุดที่มีคนทำงานมากๆ จะเห็นคนที่ยืนดู นิ่งๆจำนวนหนึ่งเสมอ เหล่านี้คือความสูญเสียเกือบ 50 %ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ตามข้อมูลที่มีผู้ศึกษาไว้ เป็นแรงงานที่สูญเปล่า จากการรอคอย วัสดุ การคัดเลือกวัสดุ การต้องเคลื่อนที่ไปมา การสนทนา
การใช้แรงงานอย่างฟุ่มเฟือยแบบนี้ สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ไม่ยาก เพียงแต่ผู้ที่ดูแล บริหารงานมีความสนใจ เฝ้าสังเกตุ หากสังเกตเห็นยากในช่วงเวลาสั้นๆ ก็ให้ลองใช้กล้องมือถ่ายวีดีโอ กดเลือกในโหมดย่นเวลา ( Time Lapse)ได้จะเห็นได้ชัดเจน
แรงงานในไทย ยังมีความสูญเสียแบบพิเศษ นอกตำราคือ เข้าหน่วยงานแล้วแอบหนี
ไปซ่อนตัวอยู่ตามมุมต่างๆ อีกด้วย ซึ่งมักเกิดกับบริษัทที่จ้างแรงงานรายวันโดยตรงเอง โดยไม่มีคนควบคุมเพียงพอ หรือไม่่มีความรู้พอในการแจกจ่ายงาน
*** ทุกเช้าวันจันทร์พบกับเรื่องราวน่าสนใจในวงการก่อสร้างในชุด“เปิดสมองมองก่อสร้าง“
นำเสนอโดยอาจารย์ต่อ
ในกราฟนี้ จะเห็นชัดว่า ประสิทธิภาพในการทำงานของการก่อสร้างทั่วโลก จะต่ำกว่าอุตสาหกรรมการผลิต อื่นๆ เป็นเท่าตัว ! เป็นปกติของการทำงานกลางแจ้งนอกโรงงานที่ ไม่สามารถจัดระบบการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในแบบระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรมได้
ส่วนสีแดง คือส่วนเวลาที่ได้ผลงาน มีเพียง 50 .7%
ความสูญเสียที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ตามข้อมูลที่มีผู้ศึกษาไว้ เป็นแรงงานที่สูญเปล่า จากการรอคอย วัสดุ การคัดเลือกวัสดุ การต้องเคลื่อนที่ไปมา การสนทนา