1 win casino1win aviatormosbetmosbet casinopin-upmostbet aviator login1 winmostbet1 win azpin up casino1winmosbetpin up bettingparimatchlacky jet4era betmostbet casinoparimatchpin up azerbaijanlucky jet casino1win slot4rabet mirror1 win casinoluckyjet1wınmosbetaviator4rabet bangladesh1 winpin up az1win onlinepin up indialucky jetmostbet azmostbetpin up kz1win1win casino1win saytimostbet aviatorlucky jetmostbetmostbet onlinepinup loginpin uppin up1win login4r betmosbet indiamostbet azaviator mostbet

ขบวนการคิดแบบ VE (Value Engineering) เพื่อลดต้นทุนการก่อสร้างอย่างสร้างสรรค์

รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค ประธานที่ปรึกษา โครงการแม่น้ำเรสซิเดนท์ 

หลักการและขบวนการทาง VE หรือวิศวกรรมคุณค่า หรือที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันอีกหลายชื่อว่า Value Management และ Value Analysis เป็นศาสตร์สําคัญวิชาหนึ่งที่ต้องศึกษากันในกลุ่มวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ เพื่อใช้ลดต้นทุนในการผลิตโดยไม่ลดคุณค่าของผลิตภัณฑ์ 
คําจํากัดความของ Value Engineering กําหนดไว้ว่า วิศวกรรมคุณค่า (VE) เป็นระบบวิธีการที่ใช้ในการปรับปรุง “คุณค่า” ของสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ หรือบริการ โดยเปรียบเทียบออกมาเป็นอัตราส่วนระหว่าง “ประโยชน์ที่ต้องการใช้สอย” กับ “ต้นทุนค่าใช้จ่าย” 

  จากสมการนี้ “คุณค่า” จึงสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยการเพิ่ม “ประโยชน์ ที่ต้องการใช้สอย” หรือลด “ต้นทุนค่าใช้จ่าย” หัวใจหลักของวิศวกรรม คุณค่าที่สําคัญมากที่จะต้องระลึกไว้เสมอตลอดเวลาของการค้นคิดและ ค้นหาวิธีเพื่อเปลี่ยนแปลงปรับปรุงในผลิตภัณฑ์ใด ๆ ก็ตาม จะต้องรักษาพื้นฐานของ “ประโยชน์ที่ต้องการใช้สอย” ไว้ไม่ให้ถูกตัดทอนลดลงเป็น อันขาด 

ต่อมาในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 ก็ได้มีการนํา VE มา ใช้ในกองทัพ บังคับไว้ในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง ให้ผู้รับเหมางาน ก่อสร้างของกองทัพต้องทําข้อเสนอเพื่อลดต้นทุนค่าก่อสร้าง (Value Engineering Change Proposals – VECP) 

VE ไม่ใช่การลดราคาแบบง่ายๆ โดยการลดจํานวนวัสดุ หรือลดคุณภาพ เช่น การลดเหล็กเสริมคอนกรีตในโครงสร้างโดยการคํานวณ ใหม่ให้ละเอียดมากขึ้น โดยยังมีขนาดของโครงสร้างเท่าเดิม แม้จะลดราคาได้ จึงไม่ใช่ VE (รูปที่ 1) แต่การปรับรูปแบบและวิธีการก่อสร้างด้วย จึงจะถือว่าเป็น VE ที่มีคุณค่ามาก (รูปที่ 2)

หากใช้ขบวนการ VE โดยมีขั้นตอนการคิดตามระบบ จะออกมาเป็นแบบรูปที่ 2 ซึ่งได้เปลี่ยนวัสดุและรูปแบบจากคอนกรีตมาเป็นท่อเหล็กกันสนิม โดยที่ยังคงความสามารถในการระบายน้ําได้ในปริมาณ เท่าเดิม

กรณีศึกษาโครงการแม่น้ําเรสซิเดนท์ 
 การใช้ VE ในช่วงก่อสร้างฐานรากที่โครงการแม่น้ําเรสซิเดนท์ ได้ผลลดค่าใช้จ่ายได้ 40 ล้านบาท และร่นเวลาได้ 25 วัน   Value Engineering (VE) จะเริ่มต้นจากการตั้งคําถามว่า : “มีวิธีการทํางานอื่น ๆ อีกไหมที่จะทําให้ออกมาได้ผลลัพธ์เหมือนเดิม แต่ได้ดีขึ้นกว่าเดิมในเรื่องเวลา หรือคุณภาพ หรือค่าใช้จ่าย” 
   ในกรณีทําฐานรากขนาดใหญ่มากที่โครงการแม่น้ำเรสซิเดนท์ เราได้เริ่มด้วยคําถามที่ท้าทายจากผู้บริหารงานก่อสร้าง (CM) ว่า “ฐานรากของเราสร้างแบบที่ไม่ต้องขุดลงไปในดินเลยได้ไหม?” คําตอบจากทีมงานได้มาว่า ไม่ขุดเลยนั้นไม่ได้ แต่ขุดให้น้อยลงได้ โดยสถาปนิกร่วมปรับแบบย้ายถังน้ํา บ่อบําบัด ที่เคยอยู่ใต้ฐานราก ออกไปอยู่นอกฐานราก และวิศวกรผู้ออกแบบโครงสร้างช่วยปรับแบบ ฐานรากส่วนที่มีช่องลิฟต์ให้มีความหนาเท่ากับความหนาทั่วไป ผู้รับเหมาก็ร่วมคิดโดยขอเทคอนกรีตรวดเดียวโดยไม่ต้องแบ่งเทเป็น 2 ชั้นทําให้ร่นเวลาได้ เจ้าของ (Owner) เห็นด้วยในหลักการนี้ และสนับสนุนโดยช่วยติดต่อ บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จํากัด (CPAC) ให้จัดส่วนผสมคอนกรีตที่เทง่ายและไม่แตกร้าว เนื่องจากความร้อนในการเทคอนกรีตที่หนามาก ๆ หลายเมตร จํานวนถึง 8 พันกว่าคิวในครั้งเดียว ที่สําคัญทางโครงการยอมจ่ายราคาคอนกรีตพิเศษที่เพิ่มขึ้นนี้ ที่คิดรวมแล้วจะประหยัดเวลาส่งมอบอาคารให้กับผู้ซื้อได้เร็วขึ้นถึง 25 วัน 


หลังจากที่ทีมงานเริ่มคิดก็มีข้อเสนอ VE ออกมาอีกเรื่อย ๆ ทําให้ลดราคาลงได้อีก รวมทั้งหมดเป็นเงิน 37.40 ล้านบาท มาจากการศึกษาทํา VE ในเรื่องต่างๆของงานฐานราก ดังต่อไปนี้ 

• ทดสอบเสาเข็มพบว่ารับน้ำหนักได้มากกว่าที่ประเมินไว้ นํามาใช้ประโยชน์ 

• ปรับรูปแบบการจัดวางเสาเข็ม 

• ปรับรูปแบบแปลนฐานรากไม่ตอก Sheet pile 

• การวางถนนรอบอาคารส่วนหนึ่งบนฐานราก 

หมายเหตุ : ยังไม่ได้รวมเงินจากผลการประหยัดเวลา 25 วัน ทําให้ประหยัดค่าใช้จ่าย Overhead ของบริษัท แสงฟ้าก่อสร้าง จํากัด และบริษัท วิศวกรที่ปรึกษาต่อตระกูล ยมนาคและคณะ (TACE) ได้อีก ประมาณบริษัทละ 1 เดือน 

แน่นอนที่สุดจะทําได้ตามที่เล่านี้ ทีมเวิร์กสําคัญที่สุด ต้องร่วมคิด ร่วมใจกันหมดทุกฝ่าย หมายถึงทั้ง 4 ฝ่าย คือ เจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ ผู้รับเหมา และผู้บริหารงานก่อสร้าง มีทีมงานพร้อมเช่นนี้จึง จะสําเร็จได้!

Source : https://www.tace.co.th/new/wp-content/uploads/2019/09/บทความ-ขบวนการคิดแบบ-VE-Value-Engineering.pdf