“Lab Room” ในความหมายทั่วไปคือ การทดลองผลิต (Pllot Production) ของโรงงาน เพื่อผลิตออกมาเป็นต้นแบบ ก่อนจะทำการ
ผลิตจริงในปริมาณมาก (Mass Production) ในระดับอุตสาหกรรม แต่
“Lab Room” ในโครงการแม่น้ำเรสซิเดนท์ คือ ห้องเสมือนจริง ซึ่งเป็นการจำลองเหตุการณ์การก่อสร้างจริงในทุกขั้นตอนการทำงาน เพื่อจะได้ทราบอัตราการทำงานของคนงานรวมทั้งปริมาณวัสดุและอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ในแต่ละกิจกรรมที่สำคัญทำให้คันพบปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในขั้นตอนการทำงานกว่า 100 หัวข้อ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการก่อสร้างอาคารจริง ช่วยให้ผู้รับเหมาลดระยะเวลาในการก่อสร้าง และลด Defect ที่เกิดขึ้น อีกทั้งช่วยให้ผู้ควบคุมงนลดระยะเวลาในการตรวจสอบงาน ทำให้เจ้าของโครงการได้ส่งมอบผลงานที่มีคุณภาพให้ลูกค้าได้เร็วกว่าแผนเดิมที่กำหนตไว้
ในการทำงานของโครงการแม่น้ำเรสชิเดนท์ จะเริ่มจากการเลือกห้องที่จะทดลองทำในห้อง Lab Room ก่อน ซึ่งเป็นห้องที่มีจำนวนมากที่สุดของโครงการจากนั้นก็คำนวณวลาการทำงานจริงจากไซต์งานข้างบนลงมาจำลองไว้ใน Lab Room ต้านล่าง และวัดประสิทธิภาพการทำงาน โดยแสงฟ้าฯ จะคัดเลือกทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญมาทำงานLab Room เพื่อรับเอาความสามารถพิเศษที่เขาทำได้รวดเร็วมาเป็นตัวอย่างให้ทีมอื่นๆ
นอกจากนี้ในการทำ Lab Room ยังมีการใช้เทคโนโลยีกล้อง Timelapse ซึ่งจะช่วยให้สามารถจับเวลาที่ทำงานแล้วเสร็จจริง และยังเป็นการย่นย่อเวลาการทำงานในแต่ละ Loop ลงเหลือเวลาเพียงไม่กี่นาที
เป็นประโยชน์ให้ผู้คุมงานสามารถสังเกตปัญหาได้
ในการทำ Lab Room โครงการจะมีการจดปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งพบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นมากมายจากงานหลายๆ ส่วนรวมกัน เช่น แบบไม่ดี วัสดุไม่ไต้คุณภาพคนงานไม่ได้คุณภาพหรือแม้กระทั่งเครื่องมือคนงานไม่ได้คุณภาพ เช่นไม้วัตระดับน้ำเพี้ยนก็จะต้องนำมาตรวจสอบและแก้ไข เพื่อให้ได้ผลงานที่ดีโดยพบปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน Lab Roomเกือบ 100ข้อซึ่งสามารถนำไปปรับแก้ในการทำงานก่อนที่จะก่อสร้างอาคารจริง ซึ่งจะช่วยลดข้อผิดพลาดในการทำงานจริง เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของการลดระยะเวลาทำงาน เกิด Defect น้อยที่สุด และช่วยให้การตรวจสอบงานง่ายขึ้น และใช้เวลาน้อยลง ที่สำคัญ การนำ Lab Room เข้ามาใช้ในการก่อสร้างนี้ยังช่วยทดสอบแผนงาน Loop Construction ที่ทีมงานได้วางแผนลำดับการทำงานก่อนหลังว่าควรจะปรับปรุงแก้ไขในส่วนใด ทำให้แผนการทำงานตาม Loop Construction ที่โครงการแม่น้ำเรสซิเดนท์วางไว้ได้ตามเป้าประสงค์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทำงานจริงมาก กล่าวคือ เมื่อเกิด
ปัญหาผู้รับเหมาก่อสร้างที่ปรึกษาและเจ้าของโครงการ จะได้เห็นปัญหา
พร้อมกัน เพื่อหาทางแก้ปัญหาก่อนที่จะเกิดความเสียหายขึ้น
Loop Construction
โครงการแม่น้ำเรสชิเดนท์แบ่ง Loop การทำงานออกเป็น 15 Loop แต่ละ Loop มีระยะเวลาการทำงาน 7 วัน ทั้งนี้ได้มีการพูดคุยทำความเข้าใจการทำงานโดยนำงานที่สามารถทำงานร่วมกันได้ใส่ไว้ในแต่ละ Loop เพื่อให้เกิดผลงานที่ดี มีประสิทธิภาพ ไม่ต้องมีการแก้ไขแม้ว่าในช่วงแรกๆของการทำงานหลายคนจะเกิดข้อสงสัยและมีปัญหาเกิดขึ้นระหว่างทำงาน แต่ก็สามารถนำปัญหาต่างๆ มาพูดคุยและทำความเข้าใจ โดยสามารถปรับทัศนคติ (Mindset) ในการทำงานของทีมงานจนเกิดเป็นการทำงานใหม่ๆที่ทุกคนต้องร่วมกันทำงาน เพื่อให้ได้ผลงานที่ดีออกมา
หัวใจสำคัญของ Loop Construction คือ 1. การทำงานในแต่ละ Loopจะต้องใช้เวลาเท่ากัน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่อาจยึดหยุ่นได้ เช่น แผนงานที่วางไว้ต้องเสร็จภายใน 7 วันจะต้องทำให้เสร็จภายใน 7 วันก่อนที่จะส่งงานให้ Loop ถัดไป จะเลื่อนส่งงานออกไปไม่ได้ เพราะจะไปกระทบการทำงานของ Loop อื่น ทำให้ไม่ตรงตามแผนงานที่วางไว้ 2. ระยะเวลาทำงานที่ตกลงกันต้องทำงานได้จริง การทำงานLoop ละ 7 วัน ได้มีการคำนวณโดยพิจารณาจากความเหมาะสมว่า สามารถทำงานในแต่ละกิจกรรมได้จริง 3. การแบ่งงานออกเป็นแต่ละ Loop จะต้องสอดคล้องกัน โดยที่แต่ละLoop จะต้องลงมาทดสอบการทำงานในห้อง Lab Room ซึ่งถ้าพบว่าไม่สอดคล้องกัน จะได้ปรับแผนได้ 4. การส่งมอบงานให้Loop ถัดไปจะต้องส่งผลงานที่ดีที่สุด ในแต่ละ Loop จะต้องทำงานของตนเองให้ดี เช่นทดสอบการปูกระเบื้องจริงใน ห้อง Lab Room พอทำงานเสร็จก็ต้องเดินตรวจเลย หากปูกระเบื้องผิดก็ต้องรื้อทำใหม่ทำให้งานออกมาดีที่สุด 5. Loop ต้องลงรายละเอียดถึงการตรวจงาน และการซ่อมหลังตรวจงาน ส่วนใหญ่ในแต่ละ Loopจะวางแผนการทำงานให้เสร็จภายใน 6 วันที่เหลืออีก 1 วันจะเป็นการเก็บงาน ช่อมงาน และรักษาความสะอาดก่อนส่งมอบงาน ซึ่งส่วนใหญ่ทุกคนจะต้องทำงานให้ดีที่สุดและต้องแก้งานให้เรียบร้อยตามที่ผู้ควบคุมงานเข้ามาตรวจการทำงานทุกวันอยู่แล้ว
Lab Room กรณีศึกษาโครงการแม่น้ำเรสชิเดนท์
จากประสบการณ์ในการทำ Lab Room ทำให้ได้รับประโยชน์หลายประการด้วยกัน กล่าวคือ
1. ลดเวลาการทำงาน ลตการรอคอยงานติดตั้งผนังสำเร็จรูป (Precast) โดยจัดเตรียมเกลียวเหล็กฝังในช่วงงานพื้นโครงสร้างแท่นการใช้สว่านเจาะฝังพุกเหล็กเพื่อยึดแฝนเพลทสำหรับเชื่อมยึดจุดหิ้วแผ่นใต้พื้นโครงสร้าง ซึ่งใช้แรงงานเท่าเดิม แต่ได้ผลงานมากขึ้น คือ สามารถลดระยะเวลาในการติดตั้งผนังสำเร็จรูป(Pre-cast) ได้เร็วขึ้น
2. ลด Defect ของมุมกระเบื้องห้องน้ำที่ติดตั้งแล้วจากการถูกนั่งร้านกระแทก ในขณะที่คนงานทำการเคลื่อนย้ายนั่งร้าน โดยสร้างอุปกรณ์ที่น้ำหนักเบาเคลื่อนย้ายได้สะดวก เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น ม้านั่งแบบพับได้ ช่วยให้สามารถทำงานได้สะดวกขึ้นลตความเสี่ยงที่เกิดจากการทำงาน และสามารถลด Defect ได้
3. ปรับปรุงกระบวนการทำงาน ซึ่งลงลึกถึงระดับคนงาน ก่อนเลิกงานจะให้ทีมงานทั้ง3ฝ้ายได้แก่ แสงฟ้าฯ คนงาน และ TACE ได้แสดงความเห็นถึงปัญหาในการทำงานลงบนกระดาษ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะ จากนั้นก็จะนำเอาข้อมูลทุกข้อทั้งเล็กและใหญ่มาแลกเปลี่ยนในการประชุม Lab Room ซึ่งจัดขึ้นทุกสัปดาห์เพื่อหาแนวทางแก้ไข ซึ่งมีทั้งแนวทางแก้ไขแบบง่ายๆเช่นกำชับคนงานจนกระทั่งเปลี่ยนแปลงแบบ
4. การตรวจสอบงาน โดยทั่วไปทางผู้รับเหมาจะตรวจสอบงานร่วมกับบริษัทที่ปรึกษา โตยมีการกำหนด Fow Chart เบื้องต้นก่อนที่จะเริ่มทำงาน ทำให้พบว่าขั้นตอนการตรวจสอบงานระบบใช้ระยะเวลานานทั้ง2 ฝ่ายจึงได้หารือข้อสรุปร่วมกันออกมาเป็น Fow Chart ใหม่ ซึ่งจะตัดขั้นตอนการรอคอยการตรวจงานระบบ เป็นการตรวจคู่ขนานพร้อมกัน สามารถลดการรอคอยงาน ทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น
5. การตรวจสอบตามแผนรายชั่วโมง ซึ่งเป็นการตรวจสอบแบบคู่ขนาน ทำให้ผู้ควบคุมงานสามารถกำหนดได้ว่าจะเข้าตรวจสอบในชั่วโมงใด ช่วยลดระยะเวลาการตรวจสอบได้อย่างมาก จากเดิมที่ต้องรอให้เสร็จทั้งชั้น อีกทั้งยังสามารถ Monitor การทำงานของผู้รับเหมา ได้ด้วยว่าก่อสร้างได้มากน้อยเพียงใด เพื่อที่ผู้ควบคุมงานจะได้เข้าตรวจสอบงานแบบคู่ขนานทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการรอ และก่อสร้างได้รวดเร็วขึ้น