โครงการแม่น้ำเรสซิเดนท์ชูแนวคิดการทำงานแบบ Single Team ตอบโจทย์ก่อสร้างได้เร็วขึ้นแต่ใช้ต้นทุนที่น้อยลง
ในการก่อสร้างอาคารสูงพิเศษ (Super Tower) จะต้องอาศัยความร่วมมืจากผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝาย ทั้งเจ้าของอาคาร ที่ปรึกษาผู้ออกแบบและผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อให้ทุกขั้นตอนการก่อสร้างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ตอบโจทย์ทั้งคุณภาพ ต้นทุนการก่อสร้าง และระยะเวลาที่กำหนด สำหรับโครงการแม่น้ำเรสชิเดนท์ นอกจากจะนำการบริหารงานก่อสร้าง (Construction Management : CM) มาใช้เฉกเช่นโครงการทั่วไปแล้ยังได้นำแนวคิดการทำงานแบบ Single Team หรือการทำงานแบบทีมเดียวกัน มาช่วยในการบริหารจัดการงานก่อสร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีการบริหารการก่อสร้างสมัย ใหม่มาใช้ในการก่อสร้าง เพื่อให้อาคารแข็งแรง มีคุณภาพ ก่อสร้างได้เร็วขึ้น แต่มีต้นทุนการก่อสร้างที่ลดลงโครงการแม่น้ำเรสซิเดนท์ บริหารงานโดย เดชา ตั้งสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทแม่น้ำเรสซิเดนท์จำกัด ผู้พัฒนาโครงการแม่น้ำเรสชิเดนท์ โดยมี รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค ประธานกรรมการบริษัท วิศวกรที่ปรึกษาต่อตระกูล ยมนาคและคณะ(TACE) เป็นที่ปรึกษาโครงการและควบคุมงานก่อสร้าง พร้อมด้วยทีมงานผู้รับเหมาก่อสร้างจาก บริษัท แสงฟ้าก่อสร้าง จำกัด ทีมงานสถาปนิกจากบริษัทPalmer&Turner จำกัด ทีมงานออกแบบตกแต่งภายในจาก บริษัท Interior Vision จำกัด และทีมงานออกแบบภูมิสถาปัตย์จาก บริษัท Green Architects จำกัด
แนวทางการทำงานแบบ Single Team
ในการทำงานก่อสร้างทั่วไปจะแบ่งขั้นตอนการทำงานตามลำดับของงาน โดยเริ่มจากเจ้าของโครงการระบุถึงสิ่งที่ต้องการให้สถาปนิกออกแบบ สถาปนิกก็จะทำการออกแบบตามโจทย์ที่เจ้าของโครงการให้ ให้แล้วเสร็จ เพื่อให้ผู้รับเหมารับไปก่อสร้างให้เหมือนรูปแบบที่ผู้ออกแบบได้ออกแบบไว้เมื่อผู้รับเหมาก่อสร้างเสร็จแล้ว จะถึงขั้นตอนที่ผู้ควบคุมงานมาตรวจว่าได้ทำถูกต้องตามแบบและข้อกำหนดหรือไม่ หากทำไม่ถูกต้องตรงตามแบบก็จะสั่งให้ทุบทิ้งและทำใหม่ โดยที่กลุ่มคนต่างๆเหล่านี้แทบจะไม่พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงาน ทำให้เกิดช่องว่างในการทำงาน ส่งผลให้งานล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้อีกทั้งยังทำให้งบประมาณบานปลาย
แต่ในโครงการแม่น้ำเรสชิเดนท์ถือว่าได้ปฏิวัติการทำงานรูปแบบใหม่ บนแนวคิดของการทำงานแบบ “Single Team” โดยให้ทีมงานทุกฝ่ายทำงานเสมือนหนึ่งเป็นพวกเดียวกัน หรือเป็นทีมเดียวกัน ถึงแม้ว่าต่างคนจะมาจากต่างบริษัทและต่างบทบาทกัน โดยจะร่วมกันทำไปด้วยกันทุกฝาย ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ หากเห็นว่าจะเกิดข้อผิดพลาดก็ช่วยกันแก้ไขแม้กระทั่งในรูปแบบที่ทำยาก ซึ่งทำแล้วอาจจะเกิดข้อผิดพลาดและไม่สวยงามก็จะต้องร่วมกันคิดและหาวิธีที่จะทำออกมาแล้วสวยงาม แต่ทำได้ง่ายขึ้นเพื่อจะได้ไม่ต้องไปแก้ไขแบบในภายหลัง อาจกล่าวได้ว่าเป็นการหาข้อสรุปที่ดีที่สุดจากทุกความคิดเห็นเพื่อตอบโจทย์งานก่อสร้างที่เร็วขึ้น แต่มีต้นทุนที่ลดลงหลักการทำงานแบบ Single Team จะให้ความสำคัญกับทุกฝ่ายเท่ากันทุกคนจะมีระดับเท่ากัน และมีสิทธิออกความเห็นด้วยกัน โดยที่ทุกคนต้องมีเป้าหมายร่วมกัน เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพและรวดเร็วตัวอย่างของการประยุกต์ใช้วิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering) ในการทำฐานราก ช่วยลดค่าใช้จ่ายประมาณ 40 ล้านบาท ล้วนมาจากการให้ทั้ง3ฝายได้แก่ที่ปรึกษาผู้ออกแบบและผู้รับเหมาตัดสินใจร่วมกันบนเป้าหมายเดียวกัน อีกทั้งการทำ Lab Room ที่ทุกคนกล้าแสดงความคิดเห็นในทุกๆ ปัญหาก็เป็นผลลัพธ์จากการทำงานแบบ Single Team เช่นกันซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการก่อสร้างและได้คุณภาพงานที่ดีขึ้น
มุมมองของเจ้าของโครงการ
การทำงานแบบ Single Team คือ การเปิดให้ทุกฝ่าย คือ ที่ปรึกษาผู้ออกแบบและผู้รับเหมาได้มาทำงานร่วมกัน พร้อมเปิดโอกาสให้ได้แสดงข้อคิดเห็นถึงความยากง่ายและความสวยงามของแบบในการก่อสร้าง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้แบบออกมาสวยงาม แต่การก่อสร้างไม่ยาก และใช้งานได้ดี อย่างเช่น ผนัง Corridor ของโครงการฯ ยาวต่อเนื่องกันมาก ทำให้ผู้รับเหมาทำงานลำบาก เพื่อให้ผนังเรียบเสมอกันผู้ออกแบบจึงช่วยเพิ่มส้นแนวผนังซึ่งจะช่วยลดความยาวต่อเนื่องของผนัง และส่งงานได้ง่ายขึ้นในการทำงานแบบ Single Team นี้ เจ้าของโครงการจะทำหน้าที่สรุปและตัดสินใจในข้อที่ขัดแย้งกัน พร้อมกับเปิดโอกาสใหม่ๆ และวิธีใหม่ๆที่จะเกิดประโยชน์ต่อการก่อสร้างที่สำคัญการที่เจ้าของโครงการมีความรู้ทางด้านวิศวกรรม ถือเป็นข้อได้เปรียบทำให้เข้าใจการทำงานของทุกฝ่าย และมีส่วนช่วยให้การทำงานแบบ Single Team บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้เป็นที่ทราบกันดีว่า ที่ปรึกษาจะเป็นผู้ตรวจสอบและควบคุมงานแต่โครงการแม่น้ำเรสชิเดนท์ได้วางแนวคิดให้ที่ปรึกษากับผู้รับเหมาจะต้องเป็นทีมงานเดียวกัน โดยพยายามเปลี่ยน Mindset ของทั้ง 2 ฝ่ายให้ช่วยกันทำงานโดยไม่ขัดแย้งกัน ที่ปรึกษาไม่ได้จำกัดหน้าที่เพียงแค่ตรวจสอบและควบคุมงานเท่านั้น แต่จะต้องเข้ามาช่วยแก้ไข (Solve)ปัญหาต่างๆ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขณะที่ผู้ออกแบบและผู้รับเหมาต้องช่วยกันเสนอแนวทางที่ตนเองถนัดและทำได้ดีโดยที่ทุกคนต้องประสานงานกันจึงเรียกว่า Single Team คือเป็นทีมเดียวกัน ผลลัพธ์ที่ได้ ทำให้การบริหารจัดการราบรื่นแบบที่ได้จะเป็นแบบที่ดีขึ้น สร้างได้จริง รวมทั้งส่งมอบงานที่มีคุณภาพ และตรงตามเวลา
มุมมองของผู้รับเหมาก่อสร้าง
การทำงานแบบ Single Team ของผู้รับเหมาก่อสร้างอย่างบริษัทแสงฟ้าก่อสร้างจำกัด เริ่มจากการจัดตั้งทีมงานภายใน ซึ่งเป็นพนักงาน 40 คน และคนงานประมาณ600คนให้เป็นทีมเดียวกันก่อนโดยไม่มีข้อขัดแย้งในส่วนของการทำงานร่วมกับคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของโครงการ บริษัทที่ปรึกษา ผู้ออกแบบ ผู้รับเหมารายอื่นที่เป็น Sub contractor ของแสงฟ้าฯ เองและผู้รับเหมาซึ่งเจ้าของโครงการจ้างมารวมทั้งสิ้น 10 บริษัท ทำให้แสงฟ้าฯ ต้องนำการบริหารงานก่อสร้าง(Construction Management: CM) มาใช้ โดยมี Project Coordinator ซึ่งเป็นวิศวกรงานระบบที่จะต้องประสานงานระบบและประสานงานทุกฝ่ายเพื่อให้ได้ตามแผนงานที่วางไว้โดยแสงฟ้าฯจะแจ้งข้อกำหนดคราวๆให้ทุกฝ่ายเข้ามาประชุมกันแล้วหาข้อสรุปที่ดีที่สุดมาปฏิบัติในโครงการ โดยมีเป้าหมายเป็นที่ตั้งเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้บนกฎกติกาที่มีร่วมกัน จากการสรุปแผนงานร่วมกันพร้อมเขียนแผนงานคราวๆ ซึ่งผ่านการ Approve แผนร่วมกันจากทีมงานทั้ง3ฝ้ายได้แก่เจ้าของที่ปรึกษาและผู้รับเหมา ก่อนที่จะสรุปเป็นแผนที่เรียกว่า Loop Construction และเดินงานตาม Loop Construction เนื่องจากการทำ Loop Construction เป็น Critical Path Method แบบใหม่ โดยจับกลุ่มงานที่สอดคล้องกันมาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน Loop ละ7 วันในแต่ละLoop งานจะเป็น Critical Path Method ซึ่งจัดลำดับงานชัดเจนว่าใน 7 วัน ผู้รับเหมารายใดเป็นผู้รับผิดชอบงาน ดังนั้นผู้รับเหมารายใดทำงานช้าก็จะไปกระทบงานผู้รับเหมารายอื่น ซึ่งรับรู้โดย Project Coordinator ที่จะ Monitor การทำงานของผู้รับเหมาทุกรายไว้ ทำให้ทุกฝ่ายยอมรับและทำงานได้อย่างราบรื่นประโยชน์ที่ได้จากการทำงานแบบ Single Team คือ ข้อขัดแย้งจะน้อยลงมากเนื่องจากมีการคุยกันล่วงหน้าสามารถระบุได้ว่าใครงานผิดพลาด และโอกาสที่งาน Obstruct จะน้อยมาก เนื่องจากมีการวางแผนเป็นอย่างดียกตัวอย่างการทำ Lab Room ที่มีการสร้างจริงด้วยวัสดุจริงข้างล่างทำให้รับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นพอขึ้นไปทำบนชั้นจริงอาจ จะมีข้อขัดแย้งบ้างแต่น้อยมากส่วนแบบนำจะมีปัญหาน้อยลง เนื่องจากแบบถูกแก้ไปแล้วในLab Room ทั้งนี้ผู้บริหารแสงฟ้าฯ ได้ตั้งเป้าหมายที่จะลดวัสดุสูญเสีย (Waste) ที่เกิดจากการทำงานที่ผิดพลาดหรือแบบผิดในโครงการนี้ประมาณ 10 ล้านบาทพร้อมกันนี้ แสงฟ้าฯได้ตั้งเป้าสู่การเป็น Zero Defect ซึ่งจากประสบการณ์ที่แสงฟ้าฯได้ทำงานก่อสร้างในโครงการอื่นๆ ห้องจำนวน100 ห้อง อาจจะมี Zero Defect ประมาณ 10 ห้องที่ลูกค้ารับไว้ แต่
ในโครงการนี้คาดว่าจะมี Zero Defect ไม่น้อยกว่า 50% จากทั้งหมด
กว่า 300 ห้องซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ค่อนข้างมาก
มุมมองของผู้ควบคุมงานโดยทั่วไป
บทบาทหน้าที่ของที่ปรึกษา คือ การตรวจสอบและควบคุมงานแต่ในการทำงานแบบ Single Team ที่ปรึกษาและผู้รับเหมาจะต้องทำงานไปด้วยกันในโครงการนี้มีการทำ Shop Drawing ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้รับเหมาที่จะต้องทำให้เสร็จเพื่ออนุมัติ ซึ่งขั้นตอนนี้ใช้เวลาค่อนข้างนาน ทีมที่ปรึกษาก็จะเข้าไปประกบในการทำ Shop Drawing โดยให้ข้อมูลทั้งหมดแก่ผู้รับเหมา รวมทั้งสอบถามผู้ออกแบบ ทำให้ Shop Drawing ทำได้เร็วขึ้นในส่วนของงานเอกสารต่างๆ ที่ปรึกษาก็จะทำงานคู่ขนานไปกับผู้รับเหมายกตัวอย่างการทำLab Room จะมีแผนการทำงานรายชั่วโมงทางที่ปรึกษาก็จะเข้าไปตรวจสอบเป็นรายชั่วโมง ทำให้เวลาที่ใช้ในการรอคอยลดลง จะเห็นได้ว่าการทำงานแบบ Single Team นี้ทำให้ที่ปรึกษาได้เข้าไปช่วยงานของผู้รับเหมาเสมือนเป็นทีมเดียวกับผู้รับเหมาส่งผลให้งานที่ปรึกษาน้อยลงเพราะมีผู้รับเหมาเข้ามาช่วย จากเดิมที่มีทีมที่ปรึกษา 10คนขณะนี้มีทีมที่ปรึกษาทั้งหมด 30 คนรวมทั้งผู้รับเหมาด้วยประโยชน์ที่ได้จากการทำงานแบบ Single Team คือ ลดระยะเวลาการก่อสร้าง และทำให้งานของที่ปรึกษาลดน้อยลง ที่สำคัญที่สุด คือได้คุณภาพงานที่ดีขึ้น เนื่องจากผู้รับเหมาเห็นว่าเป็นทีมเดียวกันแล้วการปกปิดจะไม่เกิดขึ้นทำให้ต่างฝ่ายต่างเชื่อใจกันทำให้ทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดีโครงการนี้นับเป็นโครงการแรกที่ TACE ทำงานแบบ Single Team ตามนโยบายของเจ้าของโครงการ ทั้งนี TACE สามารถนำแนวคิดการทำงานแบบ Single Team ไปปรับใช้ในโครงการอื่นๆ โดยเสนอแนะถึงประโยชน์ของการทำงานแบบคู่ขนานระหว่างที่ปรึกษากับผู้รับเหมา
เนื่องจากผลลัพธ์ที่ชัดเจนจากการทำโครงการนี้
Mat Foundation ใช้คอนกรีต 8,413 ลบ.ม. เสร็จเร็วกว่าแผนถึง 8 ชั่วโมง
การเทคอนกรีตฐานรากของโครงการแม่น้ำเรสชิเดนท์ครั้งนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูงและเป็นการเทคอนกรีตฐานรากภายในครั้งเดียวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่บริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด ผู้ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จซีแพค (CPAC) เคยทำมาตลอดระยะเวลา 60 ปี โดยเริ่มเทในวันที่ 13 กันยายน 2557 เวลา 22.00 น.และเสร็จในวันที่ 14 กันยายน 2557 เวลา 14.00 น โดยใช้คอนกรีตทั้งหมด 8,413 ลบ.ม. รวมใช้ระยะเวลาในการเทคอนกรีตทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง ซึ่งเสร็จเร็วกว่าแผนที่วางไว้ถึง 8 ชั่วโมง เฉลี่ยใช้เวลาในการเทคอนกรีต 565 ลบ.ม/ชั่วโมง โดยมีอัตราการเทคอนกรีตสูงสุดที่795 ลบ.ม/ชั่วโมงนับเป็นการสร้างสถิติใหม่ในการเทคอนกรีตต่อชั่วโมงสูงสุดในวงการก่อสร้างของไทยความสำเร็จที่ได้มาในครั้งนี้นั้น เกิดจากการทำงานแบบ Single Team ซึ่งประกอบด้วย บริษัท แสงฟ้าก่อสร้าง จำกัด บริษัท วิศวกรที่ ปรึกษาต่อตระกูล ยมนาคและคณะ (TACE)บริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด ผู้ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จซีแพค(CPAC)และเจ้าของโครงการ ที่ได้วางแผนงานร่วมกันโดยทุกฝ่ายช่วยกันคิดค้นวิธีการและรายละเอียดต่างๆโดยมีเป้าหมายที่จะเทคอนกรีตภายในครั้งเดียวให้รวดเร็วและกระทบต่อชุมชนน้อยที่สุดในส่วนของบริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด ผู้ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จซีแพค (CPAC) ในเครือ SCG ผู้ดูแลคอนกรีตที่ใช้เทฐานรากของโครงการที่มากกว่า 8,000 ลบ.ม. ได้คิดค้นคอนกรีตสูตรพิเศษ ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ โดยเน้นให้คอนกรีตไหลตัวได้ดี ไม่เป็นโพรง และมีอุณหภูมิต่ำเพราะเป็นการเทคอนกรีตในปริมาณที่มากทำให้อุณหภูมิภายในคอนกรีตสูงถึง 73 c° อาจส่งผลให้คอนกรีตแตกหรือร้าวได้ง่ายโดยการเทคอนกรีตในครั้งนี้ได้อาศัยโรงงานขนส่งจำนวน 25 โรง และโรงงานภายในไซต์อีก 1 โรง ซึ่งภายในไซต์งานจะมีรถปั๊มคอนกรีตจำนวน 4 คันและมีเผื่อสำรองอีก 2 คันเพื่อให้การเทคอนกรีตได้ต่อเนื่องตามอัตราที่วางแผนไว้สำหรับบริษัท แสงฟ้าก่อสร้าง จำกัด ซึ่งถือเป็นแม่งานในครั้งนี้ได้เตรียมการรองรับการเทคอนกรีตครั้งนี้ตั้งแต่การวางแผนผูกเหล็ก ซึ่งได้รับการอำนวยความสะดวกโดยเจ้าของโครงการ ร่วมกับบริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย)จำกัด (มหาชน) ในกลุ่มทาทา สตีล ประเทศอินเดียสั่งตัดเหล็กสำเร็จรูปที่จะใช้ในงานฐานรากมาให้ ทำให้การผูกเหล็กรวดเร็วขึ้น ส่วนการทำPlatform เพื่อรับรถปูนได้ร่วมมือกับทาง Stanpile ทำ Stanchion King Post เพื่อลดเวลาการทำ Platform ในวันที่เทคอนกรีตโดยแสงฟ้าฯได้แบ่งทีมงานออกเป็น 12ชุด มีคนงาน 152 คนต่อกะ มีคนงาน 250 คน มีโฟร์แมนควบคุม 4 จุด แบ่งงานชัดเจน มีีเจ้าหน้าที่ Safety คอยประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลจราจรทั้งภายในและถนนโดยรอบโครงการมีชุดทำความสะอาดพื้นถนนตลอดเวลาในช่วงก่อนจะถึงวันที่เทจริงทีมงานทุกฝ่ายได้มีการประชุมเตรียมความพร้อม และค้นหาปัญหาที่จะเกิดขึ้นรวมทั้งแนวทางการป้องกัน เช่น ถ้าฝนตก รถปูนจะสามารถวิ่งขึ้น Platform ได้หรือไม่ ถ้าเกิดฝนตกหนักจะป้องกันน้ำที่ไหลลงฐานรากได้อย่างไร การจราจรภายในถ้าหากรถเสียจะทำอย่างไร จากการที่ทีมงานทุกฝ่ายได้มีการ เตรียมความพร้อมวางแผนและชักซ้อมในทุกขั้นตอนส่งผลให้การเทฐานรากครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูง
อาคารแรกในไทยที่ใช้คานรัดเข็มขัด (Outrigger & BeltTruss) 3 เส้น
โครงการแม่น้ำเรสชิเดนท์ เป็นอาคาร 54 ชั้น มีความสูง 239 เมตร นอกจากโครงการฯ จะคำนึงถึงการก่อสร้างให้สามารถต้านทานแผ่นดินไหวเช่นเดียวกับอาคารตึกสูงทั่วไปแล้ว โครงการฯ ยังให้ความสำคัญกับการโยกเอียงของตึกด้วยการก่อสร้างอาคารที่โยกเอียงได้โดยที่ผู้อยู่อาศัยจะไม่รู้สึกเวียนหัวเมื่อตึกต้องปะทะกับแรงลมโดยได้นำอาคารเข้าทดสอบอุโมงค์ลมกับสถาบัน AIT (Asian Institute of Technology)ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นอุโมงค์ลมที่ทันสมัยและมีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เพื่อตรวจสอบความแข็งแรงและการสั่นไหวของอาคารในการทดสอบอุโมงค์ลม
ทางโครงการฯ ได้ทำโมเดลตึกและบริเวณโดยรอบขึ้นมาแล้วเป่าลมไปที่ตัวตึกโดยใช้ลมที่มีความแรงที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในรอบ 50 ปีอัดเข้าในตัวตึก จากนั้นทำการหมุนตึกทีละแกน เพื่อสังเกตตึกขณะที่โดนแรงลมพร้อมทั้งนำเกจ มาวัดบริเวณด้านใต้ตึก เพื่อพิสูจน์การโยกของตัวตึก จึงพบว่าระบบ Outrigger & BeltTuss ที่นำมาใช้นั้นช่วยให้อาคารสั่นไหวน้อยมากโดยระบบมีลักษณะเหมือนการนำเข็มขัดปูนขนาดใหญ่มาคาดอาคารไว้ทั้งหมด 3ชั้น ซึ่งจะคาดผ่านเสาของโครงการฯ ทุกต้น ประกอบด้วย ปูนความหนา 5.50 เมตร 1 เส้นใต้สระว่ายน้ำปูนความหนา 3 เมตร ที่ชั้น 39 และปูนความหนา3 เมตรที่ชั้นดาดฟ้า ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูงมาก และใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างนานมาก ซึ่งการทำในลักษณะนี้จะช่วยกระจายแรงลมที่มาปะทะตึกไปยังเสาส่วนต่างได้ดีขึ้น ผู้อยู่อาศัยจะรู้สึกถึงความสั่นไหวได้น้อยลงเมื่อเทียบกับอาคารสูงทั่วไปในเวลาที่เกิดลมพัดแรง นอกจากนั้นยังช่วยในเรื่องของการป้องกันความเสียหายของตึกในกรณีที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้อีกด้วย
Source : https://www.tace.co.th/new/wp-content/uploads/2019/11/บทความ-แนวคิดการทำงานแบบ-Single-Team.pdf