เปิดสมองมองก่อสร้าง
โดย ต่อตระกูล ยมนาค
พลั่วก่อฤกษ์ทางรถไฟ
เป็นพลั่ว ที่ ร.5 ใช้ทำพิธีตักดินเริ่มงานก่อสร้าง ทางรถไฟ สายกรุงเทพ-นครราชสีมา ในปี พ.ศ.2434 ออกแบบและสร้างไว้งดงามมาก
ใช้ ในพิธีเริ่มงานก่อสร้างตามแบบต่างประเทศที่เรียกว่า Ground Breaking ในงานสร้างทางรถไฟนี้ แทนการวางศิลาฤกษ์ ซึ่งเป็นพิธีของไทยในการเริ่มงานก่อสร้างประเภทอาคารต่างๆ
เป็น 1 ใน ของประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการก่อสร้างของไทย ที่มีค่ายิ่ง วางแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
ของอื่นๆมีอีก ที่น่าสนใจ อาทิเช่น ท่อน้ำปะปา และราวระเบียงดินเผากลวงสำเร็จรูป สมัยสมเด็จพระนารายณ์ และ หมอนรถไฟ 2 ท่อนที่ ร.5 และ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี ทรงตอกหมุดติดแผ่นป้าย ในวันพิธีเปิดการเดินรถไฟเป็นครั้งแรกของประเทศไทย กรุงเทพฯ- อยุธยา ก็มีแสดงไว้
เปิดให้ประชาชนเข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์และอังคาร ผู้สูงอายุเข้าดูฟรี
*** ทุกเช้าวันจันทร์ พบกับเรื่องราวน่าสนใจในวงการก่อสร้าง เป็นประจำใน ชุด ‘ เปิดสมองมองก่อสร้าง ‘ อาจารย์ต่อ ไปแสวงหามาให้