โดย รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค
พบเสาของทั้งอาคารสูง และอาคาร 8 ชั้น ในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ หลายอาคารเกิดความเสียหายหนักหลังเกิดแผ่นดินไหว 28 มีค. รอยแตกเหล่านี้ อันตรายมาก ไม่ใช่การแตกของปูนฉาบ ! เพราะเป็นการวิบัติของโครงสร้างเสา จากการรับแรงจากแผ่นดินไหว
หากพบเจอ ต้องรีบแจ้งวิศวกรโครงสร้าง มาตรวจโดยเร็ว !!! สาเหตุมาจาก การไม่ได้เสริมเหล็กเสา เพื่อป้องกันแผ่นดินไหว ตามประกาศ เพิ่มเติม ตามกฏหมายควบคุมอาคาร
เปิดดูกฏหมายนี้ได้: cba\mr\mr64-68b.pdf
ดูตัวอย่าง ใน ประกาศ ได้ในรูปที่ 3 นี้ มีคำแนะนำไม่ให้ต่อเหล็ก หากจะต้องต่อเหล็กให้ต่อตรงกลางเสา แทนที่จะต่อที่โคนเสาของแต่ละชั้น ตามที่ต่อกันปกติทั่วไป
การต่อเหล็กในเสารับแรงแผ่นดินไหวต้อง ทำตามที่กำหนดไว้ในภาพนี้
และยังมีข้อกำหนดให้ เสริมเหล็กปลอกในเสาเพิ่มมากเป็นพิเศษ ที่บริเวณหัวเสาและฐานเสาทุกๆชั้น
*** ทุกเช้าวันจันทร์พบกับเรื่องราวที่น่าสนใจในวงการก่อสร้าง
ในหัวข้อ“เปิดสมองมองก่อสร้าง” โดยอาจารย์ต่อ
ครั้งนี้นำเสนอเรื่องที่วิศวกรโครงสร้างที่มีหน้าที่ ต้องออกแบบให้ความมั่นคงแข็งแรงกับอาคารทุกอาคารได้ทราบดีถึงกฏระเบียบและมาตรฐานของการออกแบบเพื่อการป้องกันแผ่นดินไหวในพื้นที่ของประเทศไทย ที่มีมีภัยจากแผ่นดินไหวได้มากน้อยกัน 3 ระดับ

เสา ที่มุมอาคารคอนโดมิเนียมสูงใน กทม.อาคารหนึ่ง ตรวจสอบพบหล้ง แผ่นดินไหว เจ้าของอาคารได้เผยแพร่ภาพนี้ ว่าได้ทำการเสริมเหล็กเพิ่มแล้วเทคอนกรีตหุ้มรอบเสาเพิ่ม ทันที

ภาพเสา ใต้อาคารคอนโด 8 ชั้นใน เชียงใหม่ หลังแผ่นดินไหว 28 มีค มีการวิบัติของเสาทั่ง 2 แบบ คือแตกร้าว ที่หัวเสา และ มีบางเสาหักกลางเสา แต่ยังไม่พังลงมา ถูกสั่งห้ามเข้าใช้อาคารแล้ว

รายละเอียด วิธีเสริมเหล็กเสา ในอาคารที่ต้องรับแรงแผ่นดืนไหว ตาม กฏกระทรวง กำหนดรายละเอียด แบบโครงสร้าง รับแผ่นดินไหว ( 9 พย. 2564)