โดย รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค
อิฐ ไทยตามมาตรฐานไทย เพิ่งมีกำหนดใน ปี พศ. 2545 เมื่อไม่นานมานี่เอง
แต่เมื่อราว7,000 ปีอิฐดินเผา เคยมีมาตรฐาน มาก่อนแล้วเป็นของอาณาจักร ลุ่มแม่น้ำ Indus เป็นอิฐที่ใช้ในการสร้างเมืองหลวงใหญ่ในตอนเหนือของอินเดียมาก่อนกรีก และอียิปต์ โดยมีการกำหนดว่า อิฐที่จะนำมาใช้ก่อสร้างทุก ก้อนจะต้องมีอัตราส่วน ความหนาความกว้าง ความยาวเป็นอัตราส่วน 1:2:4 เท่านั้น เช่น ขนาด 7 x 15 x 29 เซนติเมตร มีความหนาที่ 7 เซนติเมตรก็จะต้องมีความกว้าง เป็น 2เท่า เป็นเกือบ 15เซนติเมตร และความยาวเป็น 2 เท่าของความกว้างด้วย
มาตรฐานอิฐของอาณาจักรลุ่มแม่น้ำอินดิส (Indus Valley civilization (Harappa and Mohenjo Daro) นี้ ตามขนาดที่กำหนดไว้จะมีคุณสมบัติยึดติด กับ ปูนก่อได้มั่นคงที่สุดและในแง่ของการวางซ้อนสลับ ก็จะงดงามได้พอดี และการก่อเข้ามุมก็จะพอดีด้วย
สำหรับมาตรฐานไทยที่ใช้อยู่กำหนดไว้ในเรื่องความแข็งแรงทางคุณภาพวัสดุต่างๆไว้ชัดเจน แต่ในเรื่องขนาดนั้นกำหนดไว้เพียงกว้างๆ เช่นความกว้างไม่น้อยกว่า 40ไปถึง 90 มิลลิเมตร
ความหนาของอิฐอยู่ระหว่าง 65 – 90 มิลลิเมตร ความยาวก้อน อยู่ระหว่าง 140 – 190 มิลลิเมตร เป็นต้น
การใช้อิฐมอญ ของไทย ที่เราเชื่อกันว่าจะมีมาตรฐานสูง จะเป็นกำแพงที่ดี แข็งแรงที่สุดกว่าผนังประเภทใดๆ จึงต้องมาคิดทบทวนกันใหม่ว่า จะดีที่สุดในปัจจุบันนี้จริงหรือไม่
*** ทุกเช้าวันจันทร์พบกับเรื่องราวน่าสนใจในวงการก่อสร้างในความรู้ชุด
“เปิดสมองมองก่อสร้าง” คัดหามาเสนอโดยอาจารย์ต่อ
มาตรฐานไทย มอก. ที่ใช้อยู่กำหนดไว้ในเรื่องความแข็งแรงทางคุณภาพวัสดุต่างๆไว้ชัดเจนแต่ในเรื่องขนาดนั้นกำหนดไว้เพียงกว้างๆ เช่นความกว้างไม่น้อยกว่า 40ไปถึง 90 มิลลิเมตร ความหนาของอิฐอยู่ระหว่าง 65 – 90 มิลลิเมตร ความยาวก้อน อยู่ระหว่าง 140 – 190 มิลลิเมตร
กำแพงอิฐ นี้มีอายุ กว่า 7,000 ปี ยังคงแข็งอยู่จนทุกวันนี้
อิฐ 7,000 ปีของอารยธรรม อินดิส ที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ ใช้มาตรฐานขนาดในอัตราส่วน 1:2:4