โดย รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค
ผนังหินรูปตัว H ที่ UMA Punku อายุหลายพันปีในยุค อินคานี้ นักวิทยาศาสตร์ ทางเคมีตั้งข้อสันนิษฐานว่า ไม่ใช่รูปร่างที่เกิดจากการสกัดหิน แต่อาจจะมาจากการใช้วิธีเท หล่อออกมาแบบคอนกรีตสำเร็จรูปในปัจจุบัน แต่ใช้ซีเมนต์ที่ทำได้จากธรรมชาติ จากน้ำยางพืชต่างๆ กลายมาเป็นซีเมนต์
ที่เรียกว่า Geopolymer Cement
ซึ่งกำลังได้รับความสนใจมากในยุคปัจจุบัน ที่จะมาทดแทน ซีเมนต์ ชนิด Portland Cement ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ แต่ในการผลิตจะปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ออก มา
จีโอโพลีเมอร์ซีเมนต์ Geopolymer Cement คืออะไร ซีเมนต์จีโอโพลีเมอร์เป็นวัสดุประสานประเภทหนึ่งที่ผลิตขึ้นโดยการทำปฏิกิริยากับวัสดุอะลูมิโนซิลิเกต (เช่น เถ้าลอย ตะกรัน หรือเมตาคาโอลิน) ด้วยสารละลายแอคติเวเตอร์ Activator ที่เป็นด่าง ปฏิกิริยาเคมีนี้ก่อให้เกิดเครือข่ายพอลิเมอร์สามมิติ. ที่เชื่อมโยงวัสดุเข้าด้วยกัน ซึ่งแตกต่างจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ซึ่งผลิตขึ้นโดยการทำความร้อนหินปูนและดินเหนียวที่อุณหภูมิสูง การผลิตซีเมนต์จีโอโพลีเมอร์สร้างการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต่ำกว่า และใช้ผลพลอยได้ทางอุตสาหกรรม ทำให้เป็นตัวเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ทุกเช้าวันจันทร์พบกับเรื่องราวที่น่าสนใจในวงการก่อสร้างในชุด
“เปิดสมองมองก่อสร้าง”
ค้นหานำมาเสนอโดยอาจารย์ต่อ
เครื่องมือสกัดหิน ในสมัยนั้น จะไม่สามรถสกัดเป็นมุมฉาก และได้ผิวเรียบในระดับนี้ได้ จึงมีทฤษฎีที่ว่า หินรูปร้าง H. นี้ ได้มาจากการหล่อ ออกมาจากแบบ โดยใช้ซีเมนต์ที่ได้จากการผสมยางพืชและสารต่างๆตามธรรมชาติ
H Block ที่ผลิตออกมาเหมือนๆกันจำนวนมาก รอการยกประกอบเป็นอาคาร
หินขนาดใหญ่ ที่ก่อโดยหินขนาดใหญ่ ที่สกัดเป็นหลายมุม หลายเหลี่ยม วางประสานเกาะติดกันได้ โดยไม่มีซีเมนต์เชื่อม แต่อาจมีวิธีที่ทำให้ผิวหินอ่อนลง จน สกัดได้ง่ายๆ