รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค ประธานที่ปรึกษา โครงการแม่น้ำเรสซิเดนท์
หลักการและขบวนการทาง VE หรือวิศวกรรมคุณค่า หรือที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันอีกหลายชื่อว่า Value Management และ Value Analysis เป็นศาสตร์สําคัญวิชาหนึ่งที่ต้องศึกษากันในกลุ่มวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ เพื่อใช้ลดต้นทุนในการผลิตโดยไม่ลดคุณค่าของผลิตภัณฑ์
คําจํากัดความของ Value Engineering กําหนดไว้ว่า วิศวกรรมคุณค่า (VE) เป็นระบบวิธีการที่ใช้ในการปรับปรุง “คุณค่า” ของสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ หรือบริการ โดยเปรียบเทียบออกมาเป็นอัตราส่วนระหว่าง “ประโยชน์ที่ต้องการใช้สอย” กับ “ต้นทุนค่าใช้จ่าย”
จากสมการนี้ “คุณค่า” จึงสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยการเพิ่ม “ประโยชน์ ที่ต้องการใช้สอย” หรือลด “ต้นทุนค่าใช้จ่าย” หัวใจหลักของวิศวกรรม คุณค่าที่สําคัญมากที่จะต้องระลึกไว้เสมอตลอดเวลาของการค้นคิดและ ค้นหาวิธีเพื่อเปลี่ยนแปลงปรับปรุงในผลิตภัณฑ์ใด ๆ ก็ตาม จะต้องรักษาพื้นฐานของ “ประโยชน์ที่ต้องการใช้สอย” ไว้ไม่ให้ถูกตัดทอนลดลงเป็น อันขาด
ต่อมาในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 ก็ได้มีการนํา VE มา ใช้ในกองทัพ บังคับไว้ในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง ให้ผู้รับเหมางาน ก่อสร้างของกองทัพต้องทําข้อเสนอเพื่อลดต้นทุนค่าก่อสร้าง (Value Engineering Change Proposals – VECP)
VE ไม่ใช่การลดราคาแบบง่ายๆ โดยการลดจํานวนวัสดุ หรือลดคุณภาพ เช่น การลดเหล็กเสริมคอนกรีตในโครงสร้างโดยการคํานวณ ใหม่ให้ละเอียดมากขึ้น โดยยังมีขนาดของโครงสร้างเท่าเดิม แม้จะลดราคาได้ จึงไม่ใช่ VE (รูปที่ 1) แต่การปรับรูปแบบและวิธีการก่อสร้างด้วย จึงจะถือว่าเป็น VE ที่มีคุณค่ามาก (รูปที่ 2)
หากใช้ขบวนการ VE โดยมีขั้นตอนการคิดตามระบบ จะออกมาเป็นแบบรูปที่ 2 ซึ่งได้เปลี่ยนวัสดุและรูปแบบจากคอนกรีตมาเป็นท่อเหล็กกันสนิม โดยที่ยังคงความสามารถในการระบายน้ําได้ในปริมาณ เท่าเดิม
กรณีศึกษาโครงการแม่น้ําเรสซิเดนท์
การใช้ VE ในช่วงก่อสร้างฐานรากที่โครงการแม่น้ําเรสซิเดนท์ ได้ผลลดค่าใช้จ่ายได้ 40 ล้านบาท และร่นเวลาได้ 25 วัน Value Engineering (VE) จะเริ่มต้นจากการตั้งคําถามว่า : “มีวิธีการทํางานอื่น ๆ อีกไหมที่จะทําให้ออกมาได้ผลลัพธ์เหมือนเดิม แต่ได้ดีขึ้นกว่าเดิมในเรื่องเวลา หรือคุณภาพ หรือค่าใช้จ่าย”
ในกรณีทําฐานรากขนาดใหญ่มากที่โครงการแม่น้ำเรสซิเดนท์ เราได้เริ่มด้วยคําถามที่ท้าทายจากผู้บริหารงานก่อสร้าง (CM) ว่า “ฐานรากของเราสร้างแบบที่ไม่ต้องขุดลงไปในดินเลยได้ไหม?” คําตอบจากทีมงานได้มาว่า ไม่ขุดเลยนั้นไม่ได้ แต่ขุดให้น้อยลงได้ โดยสถาปนิกร่วมปรับแบบย้ายถังน้ํา บ่อบําบัด ที่เคยอยู่ใต้ฐานราก ออกไปอยู่นอกฐานราก และวิศวกรผู้ออกแบบโครงสร้างช่วยปรับแบบ ฐานรากส่วนที่มีช่องลิฟต์ให้มีความหนาเท่ากับความหนาทั่วไป ผู้รับเหมาก็ร่วมคิดโดยขอเทคอนกรีตรวดเดียวโดยไม่ต้องแบ่งเทเป็น 2 ชั้นทําให้ร่นเวลาได้ เจ้าของ (Owner) เห็นด้วยในหลักการนี้ และสนับสนุนโดยช่วยติดต่อ บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จํากัด (CPAC) ให้จัดส่วนผสมคอนกรีตที่เทง่ายและไม่แตกร้าว เนื่องจากความร้อนในการเทคอนกรีตที่หนามาก ๆ หลายเมตร จํานวนถึง 8 พันกว่าคิวในครั้งเดียว ที่สําคัญทางโครงการยอมจ่ายราคาคอนกรีตพิเศษที่เพิ่มขึ้นนี้ ที่คิดรวมแล้วจะประหยัดเวลาส่งมอบอาคารให้กับผู้ซื้อได้เร็วขึ้นถึง 25 วัน
หลังจากที่ทีมงานเริ่มคิดก็มีข้อเสนอ VE ออกมาอีกเรื่อย ๆ ทําให้ลดราคาลงได้อีก รวมทั้งหมดเป็นเงิน 37.40 ล้านบาท มาจากการศึกษาทํา VE ในเรื่องต่างๆของงานฐานราก ดังต่อไปนี้
• ทดสอบเสาเข็มพบว่ารับน้ำหนักได้มากกว่าที่ประเมินไว้ นํามาใช้ประโยชน์
• ปรับรูปแบบการจัดวางเสาเข็ม
• ปรับรูปแบบแปลนฐานรากไม่ตอก Sheet pile
• การวางถนนรอบอาคารส่วนหนึ่งบนฐานราก
หมายเหตุ : ยังไม่ได้รวมเงินจากผลการประหยัดเวลา 25 วัน ทําให้ประหยัดค่าใช้จ่าย Overhead ของบริษัท แสงฟ้าก่อสร้าง จํากัด และบริษัท วิศวกรที่ปรึกษาต่อตระกูล ยมนาคและคณะ (TACE) ได้อีก ประมาณบริษัทละ 1 เดือน
แน่นอนที่สุดจะทําได้ตามที่เล่านี้ ทีมเวิร์กสําคัญที่สุด ต้องร่วมคิด ร่วมใจกันหมดทุกฝ่าย หมายถึงทั้ง 4 ฝ่าย คือ เจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ ผู้รับเหมา และผู้บริหารงานก่อสร้าง มีทีมงานพร้อมเช่นนี้จึง จะสําเร็จได้!
Source : https://www.tace.co.th/new/wp-content/uploads/2019/09/บทความ-ขบวนการคิดแบบ-VE-Value-Engineering.pdf