โดย รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค
Canal-top Solar Power Project ทำไม ? วิธีวางแผงโซล่า เซลส์ คล่อมไปบนคลองส่งน้ำ จึงเป็นที่นิยม แพร่หลายไปหลายประเทศ ทั้งในอินเดีย อียิปต์ จอร์แดน และในรัฐแคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐอเมริกา
ทั้งๆที่การวางบนพื้นทราย ในทะเลทราย นั้นง่ายและประหยัดกว่า มาก คำตอบอยู่ที่ ได้ประโยชน์กันทั้งคู่ แผงโซล่าเซลส์ จะได้น้ำในคลองมาช่วยลดความร้อนของแผง ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าดีขึ้น และจะได้พื้นที่ติดตั้งมาฟรีด้วย
ส่วนฝ่ายดูแลน้ำในคลองส่งน้ำ ก็จะลดการสูญเสียน้ำไปได้มาก จากที่ระเหยสูญเสียไปจำนวนมหาศาล เนื่องจากกระทบความร้อนจากแดดโดยตรง ก็มีหลังคามาคลุมกันแดดให้ ผลการศึกษาวิจัย ของหลายมหาวิทยาลัยในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ชี้ว่าการวางแผงโชล่าเซลส์ ปิดไปบนแนวคลองส่งน้ำในรัฐ จะช่วยรักษาน้ำไม่ให้ระเหยไปได้ถึง63,000,000,000 (billion) แกลลอน และจะได้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์มาใช้ ถึง 14 GW
ข้อคิดจากเรื่องนี้ ก็คือสิ่งที่เราเห็น ที่อาจจะดูประหลาด น่าแปลกใจว่าทำไปทำไมในเบื้องแรกนั้น แท้จริงแล้วอาจจะเป็นความคิด ที่สร้างขึ้นแล้วจะมีประโยชน์อย่างใหญ่หลวงก็ได้ขณะนี้ ได้มีวิศวกรมาช่วยกันคิดต่อ เสนอความคิดว่าจะออกแบบโครงสร้างอะไรมา รองรับแผงให้ประหยัดขึ้น กว่าการทำโครง ทรัสเหล็ก( Steel Truss ) เช่นการใช้ลวดมาขึงรับไว้แทน
***ทุกเช้าวันจันทร์ พบกับเรื่องราวที่น่าสนใจในวงการการก่อสร้าง ในชุด
“ เปิดสมองมองก่อสร้าง ”
ค้นหาเอามาให้ โดย อาจารย์ ต่อ
โครงการ ในอินเดีย ที่เริ่มทำเป็นโครงการแรก
ภาพจำลอง โครงการวางแผงบนคลองส่งน้ำ ในสหรัฐอเมริกา
ตัวอย่าง หนึ่งของโครงรับแผง ที่จะประหยัดขึ้น กว่าการทำโครง ทรัสเหล็ก( Steel Truss ) คือการใช้ลวดมาขึงรับไว้แทน
แผงคลุมรางส่งน้ำขนาดเล็ก ใน จอร์แดน