โดย รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค
สนามบิน คันไซ ที่โอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น เป็นสนามบินที่มีชื่อเสียงเพราะสร้างลงไปบนเกาะที่ทำขึ้นเอง กลางทะเลห่างจากฝั่งที่ต้องสร้างสะพานมาเชื่อมต่อยาวถึง 3 กิโลเมตร
และที่มามีชื่อเสียงในข่าวอีก หลังจากเปิดใช้มา 24ปีตั้งแต่ 1994 (พศ. 2537 ) เพราะเมื่อปี 2018 สนามบินได้ถูกคลื่นพายุน้ำทะเล ซัดข้ามกำแพงกั้นน้ำทะเล เข้ามาท่วมใหญ่สนามบิน จนต้องปิดสนามบิน สาเหตุหนึ่งนอกจากภัยพายุธรรมชาติ ที่มีคลื่นสูงถึง 5 เมตรแล้ว ก็คือการทรุดตัวของพื้นเกาะ ที่ยังทรุดตัวลงตลอด ถึงแม้การก่อสร้างจะใช้วิธีเร่งการทรุดตัว ของชั้นทรายและดินโคลนใต้ผิวพืันทะเลตามวิธีการถมทะเลที่ญี่ปุ่นชำนาญทำมามากแล้วก็ตาม
ตอนนี้ก็ยังต้องเสริมความสูงของพื้นทางวิ่ง ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยใช้เททับด้วยแอสฟัลต์ไป
ใครที่สนใจจะคิดโครงการถมอ่าวไทย ที่ลึกไม่ถึง 50 เมตร ใกล้เคียงกับที่ญี่ปุ่นถมทำสนามบิน ก็ศึกษาวิธีการก่อสร้าง และเงินมหาศาลที่ต้องลงทุนจากเขาได้ ที่บทความข้างล่างนี้:
http://www.kansai-airports.co.jp/…/kix/sink/sink1.html
บทเรียนจากน้ำท่วมสนามบินโอซาก้า นี้ น่าคิดสำหรับการดูแลสนามบินสุวรรณภูมิ ที่สร้างบนชั้นดินอ่อนมาก และเขื่อนดินกันน้ำท่วมรอบๆ พื้นที่ 20,000 ไร่ นั้น ก็ทรุดตัวลงตลอดตามธรรมชาติ สมควรต้องมีการประเมินความแข็งแรงหลังใช้งานมานานได้แล้ว
****ทุกเช้าวันจันทร์ พบกับเรื่องน่าสนใจในวงการก่อสร้าง ในชุด
“ เปิดสมองมองก่อสร้าง ”
คัดมาเสนอโดย อาจารย์ต่อ
สนามบินคันไซ เปิดใช้มาตั้งแต่ 1994 (พศ. 2537 ) มีหลังคาอาคารเป็นท่อเหล็กกลมโค้ง คล้ายๆกับทีืสนามบินสุวรรณภูมิที่เปิดใช้ทีหลังเขา แต่ของเขาสร้างออกมาเป็นท่อโค้ง ต่างกับหลังคาทางเดินที่สุวรรณภูมิ ที่เป็นท่อตรงๆ เอามาต่อกัน ไม่โค้งสวยแบบในภาพนี้
ภาพแสดง ขั้นตอนการถมทรายชั้นต่างๆ เพื่อสร้างเกาะเทียมกลางอ่าวที่โอซาก้า
ส่วนที่มองเห็นเป็นเหมือนเสาเข็มนั้น เป็นเข็มทรายแบบที่เราทำใต้สนามบินสุวรรณภูมิเหมือนกัน เพื่อให้บีบให้น้ำออกจากชั้นดินโคลนออกมา เร่งการทรุดตัวของชั้นดินให้ลงไปแน่นตัวเต็มที่
อ่านวิธีการละเอียด ได้ที่: http://www.kansai-airports.co.jp/…/kix/sink/sink1.html
ปี 2018 สนามบินไคเซ็น ที่สร้างอยู่กลางทะเล ที่ใช้งานดีมากว่า 24 ปี ก็ได้ถูกคลื่นพายุน้ำทะเล ซัดเอาน้ำข้ามกำแพงกั้นน้ำทะเล เข้ามาท่วมใหญ่สนามบิน จนต้องปิดสนามบิน