เป็นคำตอบ 1 ในหลายคำตอบ ของคำถามที่ว่า ทำไมที่ก่อสร้างในญี่ปุ่นถึงเสียงเบา ที่คนไทยมักจะแปลกใจ เมืีอผ่านหน้า บริเวณที่ก่อสร้างในใจกลางเมืองใหญ่ ในญี่ปุ่น
วงการก่อสร้างใน ประเทศไทย ยังต้องใช้กรรมกรก่อสร้างจำนวนมากเพราะยังใช้วิธีก่อสร้างแบบเดิมๆ ย้อนหลังไป 50 -100 ปี ที่ต้องใช้แรงงานไร้ฝีมือ แต่มีคนจำนวนมากๆ แล้วปล่อยให้ทำงานไปยถากรรม ตัวอย่างเช่นงานก่ออิฐมอญ ซึ่งเคยเป็นงานช่างฝีมือไทย ค่าแรงสูงทำให้ผู้รับเหมาไทยหันไปจ้างแรงงานต่างชาติ ที่กดราคาค่าแรงได้ ให้มาทำแทน และบีบให้ได้งานรวดเร็วโดยจ่ายตามผลงานเป็นต่อตารางเมตร แม้จะเป็นโครงการรับสร้างบ้านราคาหลายสิบล้านก็ใช่คนงานต่างชาติไร้ฝีมือ ผลที่ออกมาที่ผมเห็นมาเองก็คือ กำแพงกลายเป็นกำแพงปูนแทรกอิฐ ทำด้วยชั้นปูนก่อหนามาก เพราะทำได้เร็วได้ค่าแรงมากกว่า
คุณภาพต่ำมากๆ คนงานใช้วิธีทำให้ได้ผลงานออกมาเร็วมากๆ โดยเอาปูนโปะลงไปเยอะๆ ชั้นปูนนี้จะทำให้ผนังดูดความร้อนจากภายนอกเข้ามาในบ้านตลอดทั้งวัน ต่างกับผนังก่ออิฐมอญเดิม ที่จะเป็นชั้นป้องกันความร้อนได้ดีกว่ามาก
ผมได้มีงานวิจัยร่วมกับนักศึกษาปริญญาโท พบว่ามีโครงการก่อสร้างของคนไทย ที่ใช้วิชาการการบริหารงานก่อสร้าง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพคนงานได้ผลงานเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว และอาคาร30 ชั้นของเขาเสร็จเร็วขึ้น เหลือเพียง 18 เดือนก็ทำเสร็จส่งมอบให้ลูกค้าได้
ขอฝาก ปัญหาของเรื่องการใช้แรงงานก่อสร้าง อีกเรื่องหนึ่ง ก็คือการจัดหาแรงงานเพื่อการก่อสร้าง มีผู้ที่มีรายได้จากแรงงานต่างด้าว กลายเป็น ตำรวจ ที่มีส่วนหนึ่ง ไปมีรายได้จากการละเว้นให้เข้ามา และจากจับกุมกลุ่มที่ไม่จ่ายส่วย เป็นค่าใช้จ่ายต้นทุนการก่อสร้างที่ผู้รับเหมาต้องคิดไว้เป็นค่าใช้จ่ายอีกส่วนหนึ่งที่เลี่ยงไม่ได้
*** ทุกเช้าวันจันทร์พบกับเรื่องราวในวงการก่อสร้างที่น่าสนใจในบทความชุด
“เปิดสมองมองก่อสร้าง” คัดหานำมาเสนอโดยอาจารย์ต่อ
เพราะเขาไม่ใช้กรรมกรต่างชาติไร้ฝีมือ จำนวนมากๆ ในงานของเขา
Site งานก่อสร้างในญี่ปุ่น แทบจะเห็นคนงานน้อยมาก เพราะเขาใช้เครื่องจักรทุ่นแรงมาก ยกชิ้นส่วนที่ประกอบแล้วจากโรงงานมาติดตั้ง
กทรออกแบบ เขาจะหลีกเลี่ยงงานประเภทที่ต้องใช้แรงงานมาทำที่หน้างานทุกประเภท งานก่ออิฐฉาบปูน จึงแทบจะหายไปตั่งแต่ในแบบก่อสร้างเลย!
ปัญหาของเรื่องการใช้แรงงานก่อสร้าง ก็คือผู้มีรายได้จากแรงงานต่างด้าว ก็คือ ตำรวจ นั่นเอง ที่มีส่วนหนึ่ง ไปมีรายได้จากการละเว้นให้เข้ามา และจากจับกุมกลุ่มที่ไม่จ่ายส่วย