เป็นระบบรถไฟแห่งใหม่ที่รวมเอาระบบคมนาคมทางรางที่มีความสมบูรณ์แบบที่สุดของประเทศไทย
โดยระบบรถไฟใหม่แห่งนี้จะเป็นสถานีรถไฟที่รวมเอาทุกระบบขนส่งทางรางเชื่อมต่อไว้ด้วยกันไม่ว่าจะเป็นระบบรถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูง รถไฟชานเมือง รถไฟฟ้าสายสีแดงที่เชื่อมการเดินทางเข้าจากรังสิต ท่าอากาศยานดอนเมือง เข้าสู่ตัวเมือง
เป็นศูนย์กลางระบบรางแห่งใหม่ของไทย ที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในอาเซียน
มี 24 ชานชาลา
•แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 2 ชานชาลา
•รถไฟฟ้าชานเมือง 4 ชานชาลา
•รถไฟฟ้าทางไกล 8 ชานชาลา
•รถไฟความเร็วสูง 10 ชานชาลา
ทำการก่อสร้าง มาจนสำเร็จใช้เวลา 8 ปี ระหว่าง พ.ศ.2556 – 2564 ใช้งบประมาณในย่านสถานีทั้งสิ้น 34,142 ล้านบาท อาคารสถานีมีความยาว 596.6 เมตร ความกว้าง 244 เมตร ความสูง 43 เมตร พื้นที่ใช้สอยในอาคารรวม 274,192 ตารางเมตร
***ทุกเช้าวันจันทร์พบกับเรื่องราวน่าสนใจในวงการก่อสร้าง ในบทความชุด “เปิดสมองมองก่อสร้าง” จัดหามาให้โดยอาจารย์ต่อ
ได้ใช้แล้ว รถไฟฟ้าสายสีแดง จากสถานีกลางบางซื่อ วิ่งไปถึงสถานีดอนเมือง มีทางเลื่อนเชื่อมข้ามถนน เดินไปเข้าเทอมินัล สายการบินภายในประเทศ ที่สร้างเสร็จใหม่
มี 24 ชานชาลา ซ้อนกันอยู่บน 2 ชั้นยกระดับทั้งหมด
•แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 2 ชานชาลา
•รถไฟฟ้าชานเมือง 4 ชานชาลา
•รถไฟฟ้าทางไกล 8 ชานชาลาไป
•รถไฟความเร็วสูง 10 ชานชาลา
พื้นที่โดยรอบจำนวน 2,325 ไร่ มีย่านเก็บรถไฟ โรงซ่อมบำรุง โรงรถจักร ย่านเตรียมขบวนรถ และพื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์ที่สามารถจะพัฒนาอำนวยความสะดวก ให้เป็น โรงแรม อาคารสำนักงาน ฯลฯ
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ACT ได้ใช้สถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ นี้ เป็นที่จัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชัน 6 กันยายน 2566 สะดวกมากในการเดินทางของผู้เดินทางไปประชุมขนาดใหญ่ๆ