ในกรณีตัวอย่างไฟใหม้อาคารโรงแรมสูง 50 ชั้น เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ที่ผมขอนำภาพมาแสดงไว้นี้ จะเห็นลักษณะเพลิงไหม้ ซึ่งลุกลามติดเพลิงไหม้ลามขึ้นไปตลอดผิวอาคารด้านนี้
สาเหตุเริ่มจากสายไฟตรงระเบียงที่ต่อกับไฟส่องอาคาร เกิดลุกไหม้ขึ้น แล้วไปติดกับแผ่นประดับผิวด้านนอกอาคาร จากภาพจะดูน่ากลัวมาก แต่ไฟจะไหม้เฉพาะแผ่นผิวอาคารชนิดใหม่ ซึ่งทำจากอลูมิเนียมบางๆ หุ้มแกนที่เป็นวัสดุที่ติดไฟได้! วัสดุใหม่นี้กฎหมายควบคุมอาคารของอังกฤษ ซึ่งใช้มาเก่าแก่มาก ไม่ได้กำหนดห้ามไว้ และบริษัทผู้ออกแบบของอังกฤษ ก็จะใช้ในการออกแบบอาคารใน ดูไบ และประเทศต่างๆ ที่นำกฎหมายต่างๆ ของอังกฤษมาใช้
โชคดีที่ประเทศไทย มีกฎหมายควบคุมอาคาร ที่สถาปนิก และวิศวกรไทยที่ไปศึกษามาจากทั่วโลก เลือกใช้ข้อกำหนดเรื่องการป้องกันเพลิงไหม้ของสหรัฐอเมริกามาเป็นหลัก และวิศวกรและสถาปนิกไทย ก็ถือปฏิบัติเป็นหลักในการออกแบบ แม้จะมีเพียงมาตรฐานของ วสท. ที่กำหนดใช้กันเอง ในระหว่างที่ยังไม่มีกำหนดเป็นกฎหมายบังคับก็ตาม
ปัจจุบันกฎหมายอาคาร พ.ศ. 2522 มีการปรับปรุงอยู่โดยตลอด ล่าสุด ในปี 2566 นี้ ก็ได้มีประกาศแก้ไขปรับปรุง ข้อกำหนดวัสดุก่อสร้าง ที่จะนำมาใช้หุ้มประดับนอกอาคารไว้ โดยมีข้อห้ามห้ามใช้วัสดุแบบที่เกิดไฟใหม้ที่ดูไบ ไปแล้วหลายครั้ง ชนิดนี้ด้วย
*** ทุกเช้าวันจันทร์พบกับเรื่องราวน่าสนใจในวงการก่อสร้าง ในความรู้ชุด “เปิดสมองมองก่อสร้าง”
ภาพแสดง ให้เห็นลักษณะไฟใหม้ ที่เกิดจากสายไฟตรงระเบียงที่ต่อกับไฟส่องอาคาร เกิดลุกไหม้แล้วไปติดกับแผ่นประดับผิวด้านนอกอาคาร ซึ่งลุกลามติดเพลิงไหม้ไปตลอดผิวอาคารด้านนี้
ไฟใหม้แต่ผิวอาคาร จึงดับลงได้เอง ตัวโครงสร้างอาคารไม่เสียหาย
ไฟใหม้ล่าสุด เมื่อต้นปี 2023 เป็นอาคารเก่า 4 ชั้น ทำให้มีคนเสียชีวิตถึง 16 คน
ประกาศ 31 สค.2566 ‘ กำหนดวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารประเภทควบคุมการใช้ ‘ จะมีผลบังคับใช้ ใน 180 วันหลังการประกาศ ซึ่งจัประมาณ ปลายเดือน กุมภาพันธ์ 2567