แลนด์บริดจ์ Land Bridge โครงการที่สร้างได้เร็ว กว่า ถูกกว่า ปัญหาน้อยกว่า การขุดคอคอดกระ ดำเนินการมาถึงขั้นเสนอ ค.ร.ม. อนุมัติ ตุลาคม 2566 นี้
หากโครงการ Landbridge แล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในพื้นที่ภาคใต้จาก 2% เป็น 10% เป็นระยะเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ปี สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เกือบ 500,000 ล้านบาท รวมทั้งจะเกิดโอกาสการจ้างงาน เพิ่มอาชีพใหม่ ๆ ในชุมชน เพิ่มรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกพื้นที่
โครงการแลนด์บริดจ์ นี้ประกอบด้วย โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกระนอง โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกชุมพร โครงการระบบรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร – ระนอง และโครงการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ช่วงชุมพร – ระนอง ซึ่งมีการคาดการไว้ว่าหากโครงการแล้วเสร็จ จะสามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าที่เติบโตและหันมาใช้เส้นทางนี้แทนอ้อมไปทางสิงคโปร์ซึ่งไกลกว่าและคับคั่งกว่ามากได้กว่า 400,000 ลำต่อปี
“ โครงการแลนด์บริดจ์ นี้ประกอบด้วย โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกระนอง โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกชุมพร โครงการระบบรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร – ระนอง และโครงการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ช่วงชุมพร – ระนอง”
โครงการแลนด์บริดจ์นี้ กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการโครงการมานานจนถึงขั้นสำรวจความเห็นและผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วเสร็จ จะนำเสนอ คณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติดำเนินการต่อไปในขั้นก่อสร้างได้ในเดือน ตุลาคม 2566
ภาพจากท่าเรือในต่างประเทศ ที่มีการรับคอนเทนเนอร์ จากเรือเข้าสู่การขนส่งต่อทางรถเทรลเลอร์ ได้สะดวกและรวดเร็ว
การขนส่งคอนเทนเนอร์ทางรถไฟ ในปัจจุบันสามารถขนส่งได้จำนวนมากด้วยความสะดวกและรวดเร็วในการขนขึ้นและลงจากรถไฟ
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ ผ่านมา 2 ขั้นตอนแล้ว ขั้นต่อไปหาก ค.ร.ม.อนุมัติในเดือนตุลาคม 2566 ก็จะ ถึงขั้นสำรวจเส้นทางโดยละเอียด แล้วประกาศเวนคืนที่ดิน เพื่อจะเริ่มก่อสร้างได้ในต้นปี 2568 และจะแล้วเสร็จภายใน 4 ปี ( 2572)