โดย รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค
สนามบินนานาชาติ แห่งใหม่ของประเทศกัมพูชาได้ผู้ออกแบบเป็นระดับโลก มาจากการประกาศเชิญนานาชาติมาประกวดแบบ
แล้วตัดสินอย่างตรงไปตรงมา จึงได้บริษัท ของ ท่านเซอร์ นอร์แมน ฟอสเตอร์ มาออกแบบ เพราะเป็นบริษัทที่เต็มไปด้วยประสบการณ์การออกแบบสนามบินนานาชาติืให้หลายประเทศ รวมทั้งจีนมาแล้วด้วย เริ่มสร้างแล้วกำหนดเปิดปลายปี 2568
เขาดำเนินการไม่เหมือนไทยตอนที่เปิดประกวดแบบสนามบินสุวรรณภูมิ แม้ผลการตัดสินโดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ได้ที่ 1 เป็นบริษัทจากประเทศฝรั่งเศส ที่มีประสบการณ์ออกแบบสนามบินขนาดใหญ่มากที่สุดในขณะนั้น และส่งแบบประกวดมาอย่างคิดทุกๆด้าน แต่มีนักการเมืองเข้ามาพลิกเอาบริษัทอันดับ 3 ที่มีประสบการณ์ออกแบบแค่สนามบินนานาชาติเล็กๆใน มิวนิค เยอรมันเท่านั้น มาเป็นผู้ออกแบบ
สนามบินเราจึงแค่ดูสวยและใหญ่โต แต่ออกแบบทางเข้ารับส่งผู้โดยสาร ติดขัดที่สุด ไปเน้นโครงสร้างหลังคาสวยสุด วิศวกรรมโครงสร้างสง่างามสุดๆ ผมซึ่งเป็นวิศวกรก็ชอบมาก แต่ผู้ใช้สนามบินจะมีกี่คนที่เงยหน้าดูโครงหลังคาบ้าง ?
ยินดีและชื่นชม นายกฮุน มาเนต ของกัมพูชาในผลงานในเรื่องนี้มากครับ
ติดตามดูความก้าวหน้าของ การก่อสร้าง ของสนามบินนานาชาติเทคโอ กรุงพนมเปญ
ซึ่งเริ่มเดินหน้าแล้วอย่างต่อเนื่องได้ที่…
https://www.fosterandpartners.com/news/
ทุกๆเช้าวันจันทร์ พบกับเรื่องราวที่น่าสนใจ ในวงการก่อสร้าง ในชุด
“ เปิดสมองมองก่อสร้าง ”
ค้นหาและครั้งนี้ขอนำประสบการณ์ส่วนตัว
ที่เกี่ยวข้องมาเล่าสู่กันฟัง โดยอาจารย์ต่อ
การออกแบบของ Foster + Partners ได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของกัมพูชาและภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของภูมิภาค สนามบินแห่งนี้มีท่าเทียบเครื่องบินทรงปีกเครื่องบิน แยก2เป็นข้าง สำหรับผู้โดยสารขาออกและขาเข้า โดยทั้งหมดอยู่ใต้หลังคาทรงโค้งกว้าง
รูปแบบภายใน เน้นความกลมกลืนกับธรรมชาติ Foster + Partners บอกว่าได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของกัมพูชาและภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของภูมิภาค
หลังคาอาคาร เป็นโครงสร้างสูงโปร่งบานออก เสมือนต้นไม้ ที่สร้างได้ง่ายด้วยการใช้ทำซ้ำๆ มาต่อกันคลุมเนื้อที่ ของอาคารผู้โดยสารทั้งหมด