โดย รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ( วสท ) ก่อตั้งมาครบ 80 ปี เมื่อ 30 พฤศจิกายน 2566 นี้
ผมทำงานให้ สมาคม วสท ในตำแหน่งรับใช้กรรมการผู้อาวุโสมาตั้งแต่ เรียนจบ มาเป็นวิศวกร จนได้รับเลือกให้ปฏิบัติหน้าที่เป็น นายก วสท ในระหว่างปี 2547 ถึง 2548ผ่านมาจะ 20 ปีแล้ว นักข่าวยังโทรมาสัมภาษณ์ผมอยู่อีก แม้ผมก็ไม่ให้สัมภาษณ์มานานแล้วก็ตาม ถ้าเรื่องใดเป็นเรื่องที่ควรจะได้เป็นความเห็นของ องค์กร ผมก็จะแนะให้สอบถาม นายก วสท ที่ดำรงตำแหน่งในปัจจุบันเสมอ
วสท เป็นองค์กรวิชาชีพทางวิศวกรรม ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ที่รวมวิศวกรที่ทำงานในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ เข้ามาปรึกษาหารือร่วมกันในเรื่องการกำหนดมาตรฐานกลาง ที่แนะนำให้วิศวกรใช้ในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมต่างๆ อาทิ เช่น มาตรฐานในการออกแบบโครงสร้าง และอื่นๆจำนวนมากมาตรฐานที่ผมเห็นว่ามีผลสำคัญต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนไทย คือมาตรฐานเรื่องการป้องกันเพลิงไหม้ในอาคาร ที่มีมาก่อนที่กฏหมายจะบังคับใช้ แต่วิศวกรไทยเราพร้อมใจกันใช้ ข้อกำหนดโดยสมัครใจและพร้อมใจกันใช้ มาตรฐานที่กำหนดไว้กันเอง นี้ มาโดยตลอด
บทบาท ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงเป็นตัวอย่างที่องค์กรวิชาชีพ สามารถ ช่วยรัฐฯ ในการออก กฏเกณฑ์ทางเทคนิค ออกมาใช้กันเอง โดยไม่ต้องรอให้ผ่านขบวนการทางการออก กฏหมาย ที่ใช้เวลานานไม่ทันเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเี็วมากในโลกปัจจุบันในเรื่องที่รัฐ มีอำนาจออกระเบียบ กฎเกณฑ์ ได้รวดเร็ว หน่วยงาน ก็มักจะขอผู้แทนจาก วสท ไปร่วมเป็นคณะกรรมการต่างๆ ในฐานะที่เป็นองค์กรที่เป็นกลาง มีวิศวกรจากทุกภาคส่วน สามารถให้ความเห็นได้โดยอิสระ อยู่เสมอ
ประโยชน์ของ วสท อีกประการที่ประชาชน จะยึดถือเป็นที่พึ่งได้ คือการสอบถาม ปัญหาทางวิศวกรรม มาได้ ปัญหาเล็กๆที่ตอบได้เลย ก็จะตอบไป ส่วนบางปัญหาต้องใช้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญเข้ามาศึกษา ลงลึก วสท ก็จะแนะนำให้ติดต่อไปทาง สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย (วปท.)
ทั้งนี้ วสท เป็นองค์กรอาสาสมัครที่ประกอบด้วย กรรมการผู้ที่อาสาสมัครเข้ามาทำงานทั้งสิ้น ไม่มีค่าตอบแทน เงินเดือนใดๆ
ต่อตระกูล ยมนาค รายงาน เนื่องในวันงานวันครบรอบ 80 ปี องค์กรวิชาชีพวิศวกรรม ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือที่รู้จักในชื่อย่อว่า วสท