โดย รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค
ยื่นจดหมายสภาวิศวกร ร้องสอบจรรยาบรรณวิศวกร ในโครงการสร้างรัฐสภาไทย อันอื้อฉาวแต่ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ แม้แต่คนเดียว
วิลาศ จันทร์พิทักษ์ นักต่อต้านทุจริตก่อสร้าง คนสำคัญของประเทศไทย เป็นอดีตกรรมมาธิการสภา ที่เสนอร่าง พรบ. วิศวกร พ.ศ. 2542 อันเป็นจุดกำเนิดของสภาวิศวกร
ได้ยื่นหนังสือ ถึง นายกสภาวิศวกร เมื่อ 16 กพ.2567 ร้องเรียนให้สอบจรรยาบรรณ วิศวกรต่างๆ ที่ร่วมทำหน้าที่ในการสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ที่ก่อให้เกิดปัญหา มากที่สุดในประวัติศาสตร์การก่อสร้างอาคารของรัฐ มีการให้ต่อเวลาได้ยาวนานที่สุด มีการใช้วัสดุก่อสร้างไม่ตรงตามรูปแบบและรายการมากที่สุด ได้ขอให้สภาวิศวกรได้รวมรวมเป็นกรณีศึกษา เพื่อเป็นบทเรียนมิให้เกิดเหตุเช่นนี้ขึ้นอีก
รายละเอียดในจดหมายมีดังนี้:
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
เรื่อง ขอเสนอให้สภาวิศวกรตั้งกรรมการศึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้างในประเทศไทยโดยนำโครงการก่สร้าง อาคารรัฐสภาแห่งใหม่เป็นกรณีศึกษา และตรวจสอบจรรยาบรรณของวิศวกรทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่ในโครงการก่อสร้างดังกล่าว
เรียน นายกสภาวิศวกร
ด้วยขณะนี้มีโครงการก่อสร้างของรัฐที่สำคัญโครงการหนึ่งคือ โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ สัญญาก่อสร้างมีกำหนดแล้วเสร็จ 900 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2556 ถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 แต่ขณะนี้
นับถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 ใช้เวลาก่อสร้างไปแล้ว 3,909 วัน ยังไม่มีการตรวจรับงาน ก่อให้เกิดปัญหาและเป็น ตัวอย่างการก่อสร้างของประเทศไทยในอนาคต ฉะนั้นเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นส่วนรวม จึงขอเสนอให้ สภาวิศวกรตั้งกรรมการศึกษาปัญหาการก่อสร้างในประเทศไทย โดยเอากรณีการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่เป็นกรณีศึกษา เพราะเป็นโครงการก่อสร้างโครงการหนึ่งที่มีปัญหามากที่สุด เพื่อเป็นแนวทางกลางในการปฏิบัติและ ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเช่นนี้อีก ทั้งนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาวิศวกรตามมาตรา 7(6) ความว่า “ให้คำ ปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายและปัญหาด้านวิศวกรรมรวมทั้งด้านเทคโนโลขี” นอกเหนือ
จากการควบคุมจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร โดยขอเสนอประเด็นเบื้องต้นที่ควรศึกษา ดังนี้
1. การก่อสร้างที่ใช้เวลามากกว่าสัญญาหลักถึงกว่า 4 เท่า ปัญหาเกิดจากอะไร และควรมีมาตราการ ป้องกันอย่างไร
2. การที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ให้ผู้รับจ้างโครงการของรัฐแจ้งอุปสรรดการ ก่อสร้างสืบเนื่องจากการระบาดโควิด- 19 เพื่อให้ผู้ว่าจ้างพิจารณาให้ความช่วยเหลือ แต่ต่อมาคณะ รัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564 อีกครั้งโดยแจ้งว่าสัญญาที่ทำกับรัฐก่อนวันที่ 26 มีนาคม2563 และยังไม่มีการส่งมอบงานให้ปรับ 0% ได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565 รวม 827 วัน อีกทั้งกรณีการ ก่อสร้างอาคารรัฐสภา ช่วงวันที่ 26 มีนาคม 2563 – 31 ชันวาคม2563 (ระยะเวลา 280 วัน) อยู่ในช่วง ขยายเวลาครั้งที่ 4 กลับเอาจำนวน 280 วันที่เสมือนปรับ 09 อยู่แล้วไปนับต่อจากวันที่ 30 มิถุนายน 2565 กลายเป็นปรับ 0% ถึงวันที่ 7 เมยายน 2566 เป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่ อีกทั้งมติคณะ รัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564 นั้นสภาวิศวกร มีความเห็นหรือข้อเสนอแนะอย่างไร
3. โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภา เป็นการก่อสร้างที่มีการแก้ไขแบบมากที่สุดโครงการหนึ่งประมาณ 500 รายการ ทำให้มีข้อวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเงินเพิ่มเงินลดอย่างมาก มีการกล่าวหาว่ามีการทุจริตในเรื่อง เวลางานเพิ่มจะเพิ่มเงินมากกว่าความเป็นจริง แต่เวลาลดงานจะลดเงินน้อยกว่าความเป็นจริง จึงขอให้ สภาวิศวกรตรวจสอบโดยสุ่มตัวอย่าง 2-3 รายการ เช่นกรณีผนังห้องประชุมกรรมาธิการ , กรณีดินถม , กรณีเปลี่ยนขนาดและชนิดหินปูทางเท้า ฯลฯ เป็นไปตามข้อกล่าวหาหรือไม่
4. มีกรณีการก่อสร้างหลายรายการที่ทำผิดแบบ อาจทำโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ แต่ต่อมาผู้ว่าจ้างตรวจพบ จึงมีการแก้ไขสัญญาเพื่อให้สอดคล้องกับงานที่ทำไปแล้ว กรณีดังกล่าวทำได้หรือไม่ ควรจะมีมาตรการ แก้ไขอย่างไร
5. ในพระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างของรัฐทุกฉบับ จะมีข้อกำหนดเรื่องห้ามมีผู้รับเหมาช่วงเว้นแต่ได้รับ อนุญาตจากผู้ว่าจ้าง แต่โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาซึ่งมีหลายสัญญาและมีผู้รับจ้างหลายราย พบว่า เกือบทุกสัญญาใช้ผู้รับเหมาช่วงโดยไม่มีการแจ้งผู้ว่าจ้าง เห็นว่าควรมีมาตรการป้องกันและลงโทษอย่าง เฉียบขาดหรือไม่อย่างไร
ทั้งนี้มีข้อยืนยันจากวิศวกร 4 คน ซึ่งติดเชื้อ Covid-19 และเป็นผู้ปฏิบัติงานใน โครงการก่อสร้างนี้ ได้ให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต สภาผู้แทนราษฎร ว่าเป็นผู้ปฏิบัติงานในโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่แต่ไม่ได้ทำงานกับบริษัทผู้รับจ้าง
6. กรณีผู้ควบคุมงานและที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ ส่อว่า อาจเอื้อประโยชน์กับผู้รับจ้าง ทำให้รัฐเสียห าย ควระมีมาตรการอย่างไร
7. ขอให้สภาวิศวกรตรวจสอบจรรยาบรรณของวิศวกรทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่ในโครงการก่อสร้างอาคาร รัฐสภาแห่งใหม่ ทั้งในคณะกรรมการตรวจการช้าง, ผู้รับจ้าง, ผู้ควบคุมงาน, ที่ปรึกษาบริหารการ ก่อสร้างและอื่นๆ ว่าทำหน้าที่ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรหรือไม่
และพิจารณาดำเนิน การตามข้อบังคับและข้อกฎหมายต่อไป
จากข้อเสนอเบื้องต้นดังกล่าว เห็นว่าบางเรื่องถึงแม้สภาวิศวกรจะไม่มีหน้าที่โดยตรง แต่ตามพระราช
บัญญัติสภาวิศวกร พ.ศ.2542 มาตรา 7(6) เรื่องวัตถุประสงค์ของสภาวิศวกร และเพื่อประโยชน์กับประเทศชาติ ถ้าสภาวิศวกรในฐานะตัวแทนที่เป็นแหล่งรวมของบุคคลที่มีความชำนาญ มีประสบการณ์ด้านต่างๆมารวมกัน หากทำ เป็นกรณีศึกษาวางแนวปฏิบัติกลางจะเป็นประโยชน์กับประเทศชาติอย่างมาก
จึงเรียนมาเพื่อไปพิจารณา หากต้องการข้อมูลบางอย่างเพิ่มเติม กรุณาติดต่อตามที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ที่ แจ้งไว้
ขอแสดงความนับถือ
โทร. 02-435-6464 / 081-649-6464
นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์
อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร
อดีตประธานคณะกรรมาธิการ ป.ป.ช. สภาผู้แทนราษฎร
อดีตกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสภาวิศวกร พ.ศ. 2542
*** ทุกเช้าวันเสาร์ พบกับเรื่องราวที่น่าสนใจ
ในวงการก่อสร้าง ในชุด “ เปิดสมองมองก่อสร้าง ”ปีที่7
นำเสนอโดยอาจารย์ต่อ